ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา

๑. ประวัติทั่วไปของสถานศึกษา

วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการขยายโอกาสทางการศึกษาด้านวิชาชีพ
ไปสู่ท้องถิ่น  สนับสนุนการพัฒนาชนบท  รวมทั้งการผลิตกำลังคนในระดับช่างกึ่งฝีมือ  ช่างฝีมือ และช่าง
เทคนิค  ที่มีคุณภาพในรูปแบบที่ประหยัดเพื่อให้ประชาชนยากจนในชนบทมีโอกาสเข้าศึกษาต่อ
ทั้งในระบบ  คือ  หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)  หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นทุกประเภท  ตามความต้องการของท้องถิ่น  และหลักสูตรเทียบความรู้
และประสบการณ์สู่หน่วยกิตปกติ  วันที่  30  พฤษภาคม  2538  นายกำชัย  เรืองกาญจนเศรษฐ์   รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้ง
วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ  และวันที่  30  พฤศจิกายน  2538  กรมอาชีวศึกษามีคำสั่งแต่งตั้งนายอาทิตย์  
วิบูลชัย  ผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพท่าตูม   ทำหน้าที่ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ 
มีบทบาทหน้าที่ในการประสานงานหน่วยงานราชการ   ชุมชน  บุคคล  และอื่นๆ ในพื้นที่   เพื่อดำเนินการ
จัดหาที่ดิน   ดำเนินการก่อสร้าง  เตรียมการจัดการเรียนการสอน  ตั้งแต่เริ่มโครงการจนสามารถเปิดทำ
การเรียนการสอนได้ตามวัตถุประสงค์
 วันที่  18  เมษายน  2539  กระทรวงศึกษาธิการ  โดยคณะกรรมการจัดประโยชน์ในที่ราชพัสดุ อนุมัติให้กรมอาชีวศึกษาใช้ที่ดินราชพัสดุจำนวน 50 ไร่  เพื่อใช้เป็นที่ก่อสร้างวิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ  ต่อมากรมธนารักษ์ได้พิจารณาอนุญาตและออกโฉนดให้กรมอาชีวศึกษาใช้ที่ดินก่อสร้างวิทยาลัยการอาชีพ
ศีขรภูมิ  จำนวน 25 ไร่  โดยเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2539  แล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์  เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2541  ในการก่อสร้างใช้งบประมาณผูกพัน 3  ปีตั้งแต่ปีงบประมาณ  2539 - 2550  เป็นเงิน 51,127,386.05 บาท  ได้อาคารต่างๆ  ดังนี้

1. อาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการ  จำนวน 1 หลัง
              2. อาคารหอประชุมและสำนักงาน  จำนวน 1 หลัง
              3. อาคารโรงฝึกงาน  จำนวน 2 หลัง
              4. บ้านพักผู้บริหารระดับ 7 – 8  จำนวน 1 หลัง                                     
              5. บ้านพักครู 6 หน่วย  จำนวน 2 หลัง
              6. บ้านพักภารโรง 2 หน่วย  จำนวน 3 หลัง
              7. ห้องน้ำ - ห้องส้วม 3 หน่วย  จำนวน 2 หลัง
              8. อาคารโรงฝึกงานแบบจั่วคู่  จำนวน 1 หลัง 
              9. โรงจอดรถ  จำนวน 1 หลัง 
            10. ป้อมยาม  จำนวน 1 หลัง 
            11. อาคารศูนย์วิทยบริการ  จำนวน 1 หลัง

ทำเนียบผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ
ดร.อาทิตย์ วิบูลชัย                 ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ     พ.ย. ๒๕๓๘ - พ.ค. ๒๕๕๑
นายจิระวัฒน์ ชวลิต                ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ     มิ.ย. ๒๕๕๑ - พ.ย. ๒๕๕๑
นายอนันต์ หอมพิกุล              ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ     พ.ย. ๒๕๕๑ - ธ.ค. ๒๕๕๒
นายวิชัย ปรินายวนิชย์            ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ     ธ.ค. ๒๕๕๒ - ก.ย. ๒๕๕๗
นายชัชวาลย์ ธารารักษ์          ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ     ต.ค. ๒๕๕๗ - ก.ย. ๒๕๕๙
นายปิติพงษ์ พงศธรวิวัฒน์     ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ     พ.ย. ๒๕๕๙ - ก.ย. ๒๕๖๑
นายวราวุฒิ ไกยราช               ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ     ธ.ค. ๒๕๖๑ - ปัจจุบัน

๒. ขนาดและที่ตั้ง

 วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ  ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 20  หมู่ 1  ถนนสุรินทร์ – ศรีสะเกษ  ตำบลระแงง  อำเภอศีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์  รหัสไปรษณีย์ 32110  มีพื้นที่ทั้งหมด  50  ไร่  ระยะทางห่างจากอำเภอเมือง
จังหวัดสุรินทร์   ประมาณ  40  กิโลเมตร
        วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ  ตั้งอยู่ในจังหวัดสุรินทร์  มีสภาพชุมชน  เศรษฐกิจ และสังคมโดยสังเขป  ดังนี้จังหวัดสุรินทร์ตั้งอยู่ระหว่างเขตเส้นรุ้งที่ 15-16 องศาเหนือและระหว่างเส้นแวงที่ 103 -105  องศา
ตะวันออกมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ  8,785  ตารางกิโลเมตร  พื้นที่ส่วนใหญ่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
เฉลี่ย  200 เมตร  โดยอำเภอศีขรภูมิเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์  ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้ง  (Lat)  14  องศา  20  ลิปดา  14  องศา 45  ลิปดาเหนือ  เส้นแวง  (Long)  130  องศา 40 ลิปดา – 140 องศา
ตะวันออก  ที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอศีขรภูมิตั้งอยู่ที่  ถนนถนนเสรีธิปัตย์  ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, 32110  ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ 40 กิโลเมตร  อาณาเขตอำเภอศีขรภูมิมีอาณาเขต
ติดต่อกัน  ดังนี้

 ทิศเหนือ : ติดต่อกับ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
                ทิศใต้ : ติดต่อกับ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
                ทิศตะวันออก : ติดต่อกับ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์
                ทิศตะวันตก : ติดต่อกับ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

๓. สภาพชุมชน เศรษฐกิจ สังคม

วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ  เป็นวิทยาลัยการอาชีพระดับอำเภอ  ซึ่งจัดการเรียนการสอน
และการบริการวิชาชีพแก่ชุมชน  โดยมีพื้นที่ให้บริการในอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดสุรินทร์  ดังนี้           
                1) อำเภอศีขรภูมิ
                2) อำเภอสำโรงทาบ
                3)กิ่งอำเภอศรีณรงค์
                4) กิ่งอำเภอโนนนารายณ์
                5) อำเภอรัตนบุรีบางส่วน
                6) อำเภอสนมบางส่วน
 สภาพเศรษฐกิจของชุมชนในเขตบริการของวิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิผู้ปกครองของนักเรียน
นักศึกษาส่วนใหญ่มีฐานะยากจนรายได้อยู่ในเกณฑ์ต่ำไม่สามารถส่งบุตรหลานเข้าศึกษาต่อใน
สถานศึกษาที่อยู่ในเมืองหรือต่างจังหวัดได้นักเรียนนักศึกษาส่วนใหญ่ที่เข้ามาศึกษาในวิทยาลัยจึงมี
ปัญหาเรื่องการเงินและแสดงความประสงค์ขอกู้เงินกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาเป็นจำนวนมาก
 ในชุมชนเขตพื้นที่บริการของวิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิประชาชนส่วนใหญ่ใช้ภาษาท้องถิ่นคือ
ลาว เขมร ส่วย
   วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ  ตั้งอยู่บนถนนหลวงสายสุรินทร์-ศรีสะเกษ  ห่างจากอำเภอเมือง
จังหวัดสุรินทร์ไปทางจังหวัดศรีสะเกษ 35  กิโลเมตร  และห่างจากตัวเมืองอำเภอศีขรภูมิ  ประมาณ  2  กิโลเมตร  สามารถเดินทางจากตัวเมืองจังหวัดสุรินทร์ไปได้  2  ทาง  คือ  ทางรถไฟและทางรถยนต์  นักเรียน  นักศึกษาส่วนใหญ่เดินทางไปวิทยาลัยโดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะ
 สภาพสังคม   นักเรียน   นักศึกษาส่วนใหญ่มาจากสภาพสังคมชนบทที่มีความเป็นอยู่เรียบง่าย  เชื่อฟังและเคารพผู้นำของหมู่บ้าน แต่มีความแตกต่างกันมากในด้านชีวิตความเป็นอยู่ตามชาติกำเนิด  เช่น  เขมรจะมีความเป็นอยู่เรียบง่าย  ยึดมั่นในประเพณี  วัฒนธรรมดั้งเดิม  ส่วยมักจะมีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย  และเสียสละเวลาและแรงงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ลาว  มักมีความเกี่ยวพันในเรื่องระบบญาติมิตรมาก เป็นต้น สภาพสังคมระหว่างหมู่บ้านมีความสัมพันธ์
กันน้อย  อันเนื่องมาจากชาติกำเนิดและภาษาท้องถิ่นที่ใช้มีความแตกต่างกัน
 ด้านประเพณี  วัฒนธรรม  มีความแตกต่างกันในแต่ละหมู่บ้านตามชาติกำเนิดและภาษาที่ใช้  เนื่องจากประเพณีในท้องถิ่นที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษมีความแตกต่างกัน
ด้านศาสนาประชาชนในเขตพื้นที่บริการของวิทยาลัยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
๔. ปรัชญา(Philosophy)
วิชาการดี มีฝีมือ ถือคุณธรรม นำกีฬา พัฒนาสังคม
๕. วิสัยทัศน์ (Vision)
น้ำเงิน หมายถึง วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ จัดการศึกษาวิชาชีพ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและสถานประกอบการ พัฒนางานวิจัย นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ มุ่งสู่สถานศึกษาคุณธรรม 
๖. พันธกิจ (Mission)
๖.๑. จัดการศึกษาวิชาชีพให้มีคุณภาพตามมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ
๖.๒. สร้างความร่วมมทอการจัดการศึกษากับชุมชนและสถานประกอบการ 
๖.๓. พัฒนางานวิจัย นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ 
๖.๔. พัฒนาผู้เรียนสู่อัตลักษณ์สถานศึกษาคุณธรรม
๗. เอกลักษณ์ (Traits)
๘. อัตลักษณ์ (Identity)
ทักษะเด่น เน้นคุณะธรรม

๙. เป้าประสงค์

๑. สถานศึกษาได้รับการรับรองการจัดการอาชีวศึกษาได้ตามมาตรฐาน สอศ. สมศ.
๒. ผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษามีคุณธรรมเป็นที่ยอมรับของสังคม
๓. ชุมชนมีอาชีพตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๔. สร้างนวัติกรรมในการพัฒนาอาชีพสู่สังคม

๑๐. จุดเน้นในการพัฒนาของสถานศึกษา

๑. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีวัฒนธรรมแบบกัลยาณมิตรผนึกพลังสร้างสรรค์และร่วมรับผิดชอบ
๒. ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพควบคู่กับการปลูกฝังคุณะธรรม จริยธรรมที่ดีงาม
๓. พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของสถานประกอบการและได้มาตรฐานสากล
๔. ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยสร้างนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์และโครงงานที่นำไปใช้ในการพัฒนาการเรียน การสอนและพัฒนาอาชีพ
๕. พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับภาครัฐเอกชนในการให้บริการวิชาชีพและการฝึกอบรมที่หลากหลาย
๖. พัฒนาศักยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
๗. พัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษาให้เป็นมืออาชีพ 

รูปภาพประกอบ :