Skip to content
วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ
บริการนักศึกษา
รายชื่อนักเรียน นักศึกษา
ระบบงานบริการงานวัดผลนักเรียน นักศึกษา
บันทึก คำสั่ง ประกาศ
บุคลากร
บันทึก / คำสั่ง / ประกาศ.
รายชื่อบุคลากร
แบบคำร้องขอเปลี่ยนเวร
แบบ ลาป่วย ลากิจ ลาคลอดบุตร(สำหรับครู)
แผนกวิชา
แผนกช่างยนต์
แผนกวิชาช่างกลโรงงาน
แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
แผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์
แผนกวิชาก่อสร้าง
แผนกวิชาเทคนิคพื้นฐาน
แผนกวิชาช่างเชื่อม
แผนกวิชาการบัญชี
แผนกวิชาโยธา
แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
แผนกสามัญ-สัมพันธ์
แผนกวิชาธุรกิจค้าปลีก
แผนกวิชาการโรงแรม
แผนกวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
หน่วยงานภายใน
ฝ่ายบริหารทรัพยากร
ฝ่ายวิชาการ
ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา
ฝ่ายแผนกงานและความร่วมมือ
การเข้าศึกษา
รับสมัครเรียนประจำปี 2564
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรระยะสั้น
สื่อการสอน
แบบฟอร์มติดตามวิชาโครงการสำหรับครูผู้สอน
ปฏิทินแผนการดำเนินงาน
แบบ 06 (สำหรับครูผู้สอน)
แบบ 07 (สำหรับครูผู้สอน)
แบบ 08 (สำหรับครูผู้สอน)
ตัวอย่างแบบนำเสนออนุมัติโครงการ
ตัวอย่างการเขียนวิจัย 5 บท
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
ดาวน์โหลด
แบประเมินปฏิบัติงาน ประจำปีการศึกษา 2563
แบบฟอร์มโครงร่างวิจัยในชั้นเรียน 2/2563
แบฟอร์มจดหมายแจ้งผู้ปกครอง
แบบประเมินผลการนิเทศนักศึกษาเรียนรู้ประสบการณ์
แบบฟอร์มวิจัยในชั้นเรียน 5 บท 2561
แบฟอร์มรายงานผลการดำเนินโครงการ ประจำปี 2561
เครื่องมืองานประกันคุณภาพ 61-62
ตัวอย่างโครงการ ประจำปีงบประมาณ 2562
แบฟอร์มโครงการ ประจำปีงบประมาณ 2562
สรุปยุทธศาสตร์ มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ห้องสมุดออนไลน์
อำเภอศีขรภูมิ
ประวัติศีขรภูมิ
อำเภอศีขรภูมิ เริ่มก่อตั้งบ้านเมืองมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2295 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยมี "เชียงไชย" เป็นหัวหน้าผู้ปกครอง ซึ่งต่อมาภายหลังได้ประกอบความดีความชอบในการปกครองราษฎรให้ได้อยู่เย็นเป็นสุข จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "ขุนไชยสุริยง" กองนอกและได้รับเลื่อนเป็น "หลวงไชยสุริยง" กองนอก ตามลำดับ ชาวอำเภอศีขรภูมิจึงถือว่า "หลวงไชยสุริยง" (เชียงไชย) เป็นเจ้าเมืองศีขรภูมิคนแรก และเป็นผู้คุณูปการต่อการวางรากฐานการปกครองและการพัฒนาในด้านต่างๆ เพื่อประโยชน์สุขของชาวอำเภอศีขรภูมิจวบมาจนปัจจุบัน
ต้นสมัยรัฐกาลที่ 5 ขึ้นครองราชสมบัติ ประมาณ พ.ศ. 2412 เจ้าเมืองสังขะได้กราบบังคมทูลขอยกบ้านกุดไผท หรือบ้านจารพัตขึ้นเป็นเมือง (ตำบลจารพัฒในปัจจุบัน) โปรดเกล้าให้เป็นเมือง "ศีขรภูมิพิสัย" ให้หลวงไชยสุริยง "พระศีขรมานุรักษ์" เป็นเจ้าเมือง ต่อมาได้ย้ายที่ทำการมาตั้งที่บ้านโคกตะเคียนริมทางหลวงแผ่นดินที่ตัดใหม่ในท้องที่บ้านปราสาทตำบลยางในขณะนั้นสร้างเป็นที่ทำการอำเภอชั่วคราวครั้งถึงฤดูฝนปรากฏว่าน้ำจากทุ่งกุดไผทท่วมถึงจึงพิจารณาย้ายที่ทำการไปตั้งที่โคกอนันต์ (บ้านอนันต์ ตำบลยาง ตรงโรงเรียนบ้านอนันต์ ในปัจจุบัน) ตั้งที่ว่าการอำเภอถาวรตรงนั้นตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2454 ซึ่งเป็นสมัยแรกของการปกครองท้องที่
จนถึง ปี พ.ศ.2475 จึงย้ายมาตั้งที่บ้านระแงงที่มีการคมนาคมสะดวกมีรถไฟวิ่งผ่าน จึงเป็นที่ตั้งอำเภอศีขรภูมิในปัจจุบันนี้ ชื่อกุดไผท ศีขรภูมิพิสัย จึงค่อยๆเลือนหายไปจากความทรงจำของผู้คน กระทั้งกรมสามัญศึกษาได้มาตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาที่อำเภอศีขรภูมิ จึงได้ตั้งชื่อโรงเรียนว่า "ศีขรภูมิพิสัย"และชื่อของกุดไผทก็นำมาใช้เป็นชื่อของโรงเรียน "กุดไผทประชาสรรค์" ในตำบลกุดหวาย อำเภอศีขรภูมิ ในปัจจุบันต่อมาคำว่า "พิสัย" หายไปคงเหลือแต่คำว่า "อำเภอศีขรภูมิ" ซึ่งหมายถึงเมืองที่เป็นที่ราบสูงหรือภูเขา
วันที่ 28 กรกฎาคม 2455 ยกเลิกอำเภอสุรพินท์ มารวมเข้ากับอำเภอศีขรภูมิ
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2481 แยกพื้นที่หมู่ 4,9,11,20 ตำบลยาง และหมู่ 5 ตำบลจารพัต ตั้งเป็น ตำบลระแงง
วันที่ 3 เมษายน 2482 โอนพื้นที่หมู่ 8,12 (ในขณะนั้น) ของตำบลสำโรง อำเภอเมืองสุรินทร์ และพื้นที่หมู่ 5 (ในขณะนั้น) ของตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ มาขึ้นกับตำบลจารพัต อำเภอศีขรภูมิ
วันที่ 10 กรกฎาคม 2482 โอนพื้นที่หมู่ 20,21 บ้านอายอง (ในตอนนั้น) ตำบลบุแกรง อำเภอท่าตูม มาขึ้นตำบลแตล อำเภอศีขรภูมิ
วันที่ 5 สิงหาคม 2484 โอนพื้นที่หมู่ 5,6 (ในขณะนั้น) ของตำบลยาง ไปขึ้นกับตำบลระแงง
วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลกระออม แยกออกจากตำบลหนองฮะ ตั้งตำบลศรีสุข แยกออกจากตำบลหนองฮะ และตำบลสำโรงทาบ ตั้งตำบลคาละแมะ แยกออกจากตำบลขวาวใหญ่ และตำบลหนองฮะ ตั้งตำบลช่างปี่ แยกออกจากตำบลจารพัต ตำบลระแงง และตำบลแตล
วันที่ 2 ธันวาคม 2490 โอนพื้นที่หมู่ 19 บ้านท่าเรือ, หมู่ 20 บ้านราม (ในขณะนั้น) ของตำบลจารพัต อำเภอศีขรภูมิ ไปขึ้นกับตำบลสำโรง อำเภอเมืองสุรินทร์
ท้องที่จังหวัดเดียวกัน
วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลระแงง ในท้องที่บางส่วนของตำบลระแงง
วันที่ 17 ธันวาคม 2500 ตั้งตำบลหนองเหล็ก แยกออกจากตำบลจารพัต ตั้งตำบลหนองไผ่ล้อม แยกออกจากตำบลสำโรงทาบ ตั้งตำบลหนองขวาว แยกออกจากตำบลระแงง
วันที่ 23 กันยายน 2501 แยกพื้นที่ตำบลสำโรงทาบ ตำบลศรีสุข ตำบลกระออม และตำบลหนองฮะ อำเภอศีขรภูมิ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอสำโรงทาบ
ขึ้นการปกครองกับอำเภอศีขรภูมิ
วันที่ 30 กันยายน 2501 โอนพื้นที่ตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอศีขรภูมิ ไปขึ้นกับ กิ่งอำเภอสำโรงทาบ อำเภอศีขรภูมิ
วันที่ 16 ธันวาคม 2501 ตั้งตำบลหนองบัว แยกออกจากตำบลขวาวใหญ่
วันที่ 10 ธันวาคม 2502 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอสำโรงทาบ อำเภอศีขรภูมิ เป็น อำเภอศีขรภูมิ
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2508 โอนพื้นที่หมู่ 9 (ในขณะนั้น) ของตำบลแตล อำเภอศีขรภูมิ ไปขึ้นกับตำบลบุแกรง อำเภอจอมพระ
วันที่ 22 กันยายน 2513 ตั้งตำบลกุดหวาย แยกออกจากตำบลยาง
วันที่ 4 สิงหาคม 2520 โอนพื้นที่หมู่ 9 บ้านจังเกา (ในขณะนั้น) ของตำบลตรึม อำเภอศีขรภูมิ ไปขึ้นกับตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอสำโรงทาบ
วันที่ 31 มีนาคม 2524 ตั้งตำบลนารุ่ง แยกออกจากตำบลตรึม
วันที่ 16 มีนาคม 2526 โอนพื้นที่หมู่ 15 บ้านอังกัน (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองเหล็ก อำเภอศีขรภูมิ ไปขึ้นกับตำบลสำโรง อำเภอเมืองสุรินทร์
วันที่ 3 พฤศจิกายน 2526 โอนพื้นที่หมู่ 10 บ้านโนนลี, หมู่ 17 บ้านโสนน้อย (ในขณะนั้น) ของตำบลตรึม อำเภอศีขรภูมิ ไปขึ้นกับตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอสำโรงทาบ
วันที่ 23 ตุลาคม 2527 ตั้งตำบลตรมไพร แยกออกจากตำบลจารพัต
วันที่ 15 มกราคม 2536 ตั้งตำบลผักไหม แยกออกจากตำบลระแงง
วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลระแงง เป็นเทศบาลตำบลระแงง
ด้วยผลของกฎหมาย
วันที่ 2 ธันวาคม 2554 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ เป็น เทศบาลตำบลศีขรภูมิ
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอศีขรภูมิตั้งอยู่ทางตอนกลาง ค่อนไปทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับอำเภอจอมพระและอำเภอสนม
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับอำเภอสำโรงทาบและอำเภอปรางค์กู่ (จังหวัดศรีสะเกษ)
ทิศใต้
ติดต่อกับอำเภอศรีณรงค์และอำเภอลำดวน
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับอำเภอเมืองสุรินทร์และอำเภอเขวาสินรินทร์
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอศีขรภูมิแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 15 ตำบล
228 หมู่บ้าน
1. ระแงง
(Ra-ngaeng)
15 หมู่บ้าน
2. ตรึม
(Truem)
18 หมู่บ้าน
3.
จารพัต
(Charaphat)
20 หมู่บ้าน
4. ยาง
(Yang)
18 หมู่บ้าน
5. แตล
(Taen)
22 หมู่บ้าน
6. หนองบัว
(Nong Bua)
18 หมู่บ้าน
7. คาละแมะ
(Khalamae) 15 หมู่บ้าน
8. หนองเหล็ก
(Nong Lek)
18 หมู่บ้าน
9. หนองขวาว
(Nong Khwao)
17 หมู่บ้าน
10.
ช่างปี่
(Chang Pi) 14 หมู่บ้าน
11. กุดหวาย
(Kut Wai)
14 หมู่บ้าน
12.
ขวาวใหญ่
(Khwao Yai)
9 หมู่บ้าน
13. นารุ่ง
(Na Rung)
9 หมู่บ้าน
14. ตรมไพร
(Trom Phrai)
10 หมู่บ้าน
15. ผักไหม
(Phak Mai)
11 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอศีขรภูมิประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
16 แห่ง ได้แก่
เทศบาลตำบลศีขรภูมิ
ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลระแงง
เทศบาลตำบลผักไหม
ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผักไหมทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลระแงง
ครอบคลุมพื้นที่ตำบลระแงง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลศีขรภูมิ)
องค์การบริหารส่วนตำบลตรึม
ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตรึมทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลจารพัต
ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจารพัตทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลยาง
ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลแตล
ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแตลทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลคาละแมะ
ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคาละแมะทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเหล็ก
ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเหล็กทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขวาว
ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองขวาวทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลช่างปี่
ครอบคลุมพื้นที่ตำบลช่างปี่ทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลกุดหวาย
ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดหวายทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลขวาวใหญ่
ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขวาวใหญ่ทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลนารุ่ง
ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนารุ่งทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลตรมไพร
ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตรมไพรทั้งตำบล
ประชากรในอำเภอศีขรภูมิ
จำนวนหลังคาเรือน :
19,236 หลังคาเรือน
จำนวนประชากร :
101,110 คน
จำนวนเด็กแรกเกิด ถึง 6 ปี :
6,171 คน
จำนวนสตรีตั้งครรภ์ : 549 คน
จำนวนสตรีอายุ 35 ปี ขึ้นไป :
19,141 คน
จำนวนผู้สูงอายุ : 11,222 คน
จำนวนผู้สูงอายุ ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง :
1,960 คน
จำนวนผู้สูงอายุ ที่ช่วยตนเองไม่ได้ : 237 คน
จำนวนผู้พิการ :
3,548 คน